วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลการจัดทำ

รายงาน
เรื่อง ระบบประสาท การช่วยฟื้นคืนชีพ และประวัติความเป็นมาของจังหวะ Cha-Cha-Cha

รายวิชา สุขศึกษา และพลศึกษา รหัสวิชา พ 30106 
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554
 
จัดทำโดย
นายนฤชิต  ฐานุธนาคุณ  เลขที่ 16
นายปรุฬห์  ลออโรจนวงศ์  เลขที่ 17
นายพชรพงศ์  พงศะบุตร  เลขที่ 18
นายสรณ  อัครเสวี  เลขที่ 22
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2

ประวัติความเป็นมาของจังหวะ Cha-Cha-Cha




จังหวะ ชา ชา ชา (Cha-Cha-Cha)
ประวัติ


จังหวะชา ชา ชา (Cha-Cha-Cha) เปนจังหวะลีลาศประเภทลาตินอเมริกัน เปนที่นิยมเตนกันมาก มี กําเนิดมาจากประเทศโดมินิกันและคิวบา จังหวะ ชา ชา ชา ไดรับการพัฒนามาจากจังหวะ แมมโบ (Mambo) และเปนจังหวะลาตินที่คนสวนมากชอบที่จะเรียนรูเปนอับดับแรก ชื่อของจังหวะนี้ ตั้งขึ้นโดยการเลียนเสียง รองเทา ของสตรีชาวคิวบาขณะที่กําลังเตนรํา จังหวะ ชา ชา ชา ไดถูกพบเห็นเปนครั้งแรกที่ประเทศอเมริกา และเผยแพรไปในยุโรป เกือบจะเปนเวลาเดียวกันกับจังหวะแมมโบ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะแมม โบไดเสื่อมความนิยมลงไป ผูคนหันมานิยมจังหวะ ชา ชา ชา และไดรับความนิยมอยางจริงจังในป ค.ศ. 1956 เมื่อไมนานมานี้เปนที่ตกลงกันไววา ใหตัดทอนชื่อใหสั้นลงเปน ชา ชาในประเทศไทยประมาณป พ.ศ. 2498 ไดมีการแสดงของวงดนตรี ซีซา วาเลสโก ที่สวนลุมพินี โดย มิสเตอร เออรนี่ ชาวฟลิปปนสไดนําลีลาการเตน ชา ชา ชา มาประกอบเพลง

องคประกอบทั่วไป
จังหวะดนตรี เปนจังหวะแบบ 4/4 หมายถึงใน 1 หองเพลงจะมี 4 จังหวะ มีเสียงเนนหนักจังหวะที่1
ความเร็ว ดนตรีบรรเลงดวยความเร็วประมาณ 30-31 หองเพลงตอนาที

การนับ   1. นับตามการกาวเทาเปนตัวเลข 1– 2 – 3, 4, 5 หรือ 1– 2 – 3 และ 4 หรือ 1 – 2 – 
                    ชา, ชา, ชา
                2. นับเปนจังหวะชาเร็ว ชา – ชา – เร็ว, เร็ว, เร็ว
                3. นับตามจังหวะดนตรีนับเปน2-3-4และ1
การกาว  เนื่องจากจังหวะ ชา ชา ชา มีอยู 4 จังหวะ แตตองกาวเทา 5 กาว ลักษณะการกาวเทาใหลง   จังหวะดนตรี (2-3,4และ1)ทําไดดังนี้
กาวที่ 1 และ 2 ตรงกับจังหวะดนตรที ี่ 2 และ 3 กาวที่ 3, 4, 5 ตรงกับจังหวะดนตรที ี่ 4 และ 1โดยรวบกาวที่ 3, 4 ใหตรงกับจังหวะที่ 4 สวนกาวที่ 5 ตรงกับจังหวะที่ 1 
เอกลักษณเฉพาะ กระจุมกระจิ๋ม สนุกสนาน เบิกบาน การแสดงออกถึงความรักใคร


ฟิกเกอร์พื้นฐาน

1.  Chasse
2. Basic Movement
3. Sport Turn
4. New York
5. Shoulder to Shoulder
6. Hand to Hand
7. Fan
8. Hockey Stick




แบบทดสอบ เรื่อง จังหวะ Cha-Cha-Cha

1. จังหวะดนตรีในการเต้นลีลาศใน 1 ห้องเพลงมีกี่จังหวะ
ก.1
ข.2
ค.3
ง.4
2. ฟิกเกอร์พื้นฐานของลีลาศแบบชะชะช่ามีกี่รูปแบบ
ก.7
ข.8
ค.9
ง.10
3. ลีลาศแบบชะชะช่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศใด
ก.ประเทศโดมินิกันและคิวบา
ข.ประเทศไทย
ค.ประเทศอเมริกา
ง.ประเทศอินเดีย
4. ชื่อของลีลาศแบบชะชะช่ามีที่มาจากการเลียนเสียงของอะไร
ก.กลอง
ข.รองเท้า
ค.มือ
ง.จังหวะเท้า
5. การเต้นลีลาศแบบชะชะช่ามีเอกลักษณ์อย่างไร
ก.เศร้า
ข.สร้างความตื่นเต้น
ค.สนุกสนาน เบิกบาน
ง.ความระทึกใจ






เฉลย
1.ง
2.ข
3.ก
4.ข
5.ค

จังหวะ Cha-Cha-Cha (2)

ฟิกเกอร์แชสเซ่ (Chasse)
แชสเซ่ เป็นส่วนประกอบของฟิกเกอร์ต่าง ๆ ประกอบไปด้วยการก้าวสั้น ๆ 3 ก้าว ต่อการเต้น
2 จังหวะ การทำแชสเซ่ทำได้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา, หน้า หลัง, เฉียงไปข้างหน้าหรือข้างหลัง

ฟิกเกอร์ทักษะเบื้องต้น (ชายและหญิง)



เบสิค มูฟเม้นท์ ของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า เป็นการเต้นพื้นฐานที่ประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว แบ่งเป็นเดิน หน้า 5 ก้าวและถอยหลัง5 ก้าว ในการฝึกเดินสำหรับผู้หัดใหม่ควรเริ่มเดินแบบเดินหน้าและถอยหลังตรง ๆ ก่อน แล้วจึงเริ่มหมุนโดยการหมุนตัวไปทางซ้ายครั้งละ 1/8 รอบหรือ 1/4 รอบใน 5 ก้าวต่อไป10 ก้าวแล้วจะหมุนตัวไปทางซ้าย 90 องศา หรือ 1/4 รอบ ควรฝึกลวดลายนี้จนกระทั่งเต้นได้ถูกต้องตรงตามจังหวะดนตรีแล้วจึงฝึกลวดลายอื่น ๆ ต่อไป
ปริมาณการหมุน : หมุนตัวไปทางซ้าย 1/8 รอบในก้าวที่ 3 และหมุนตัวไปทางซ้ายอีก 1/8 รอบในก้าวที่ 8 นั่นคือเมื่อเดินครบ


เบสิค มูฟเม้นท์ ของ หญิงประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้


ฟิกเกอร์หมุน (Spot Turn)
การหมุนไปทางขวาประกอบด้วยการเดิน 5 ก้าว ดังนี้


ฟิกเกอร์นิวยอร์ค (ชาย)

นิวยอร์กเป็นลวดลายที่ประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกหัดควรทำต่อจาก เบสิค มูฟเม้นท์ ต่อเมื่อได้ฝึกลวดลายอื่น ๆ แล้วจึงเต้นเชื่อมเข้ากับลวดลายอื่น ๆ เช่น ฮอกกี้ สติ๊ก ต่อไป
นิวยอร์ก ชาย
นิวยอร์ก ของชายประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการจับคู่แบบปิดแล้นำคู่เต้นเข้าสู่ นิวยอร์ก โดยในก้าวที่ 6 – 10 ของเบสิค มูฟเม้นท์ ฝ่ายชายจะปล่อยมือขวาที่จับอยู่ด้านหลังและยกขึ้นข้างลำตัว ยืนห่างจากคู่พอสมควร


นิวยอร์ก หญิง
นิวยอร์ก ของหญิงประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการจับคู่แบบปิดแล้วเต้น เบสิค มูฟเม้นท์ ในก้าวที่ 6 – 10 ผู้หญิงจะปล่อยมือซ้ายออกจากคู่  ยกแขนด้านนี้ขึ้นข้างลำตัว

การจบ : เมื่อเต้นลวดลายนี้ครบ 15 ก้าวให้ต่อด้วย สปอต เทิร์น ซึ่งเป็นการหมุนตัวอยู่กับที่ไปทางขวา

ฟิกเกอร์โชลเดอร์ ทูโชลเดอร์ (Shoulder to Shoulder)

ทำต่อจากฟิกเกอร์ทักษะเบื้องต้น หรือฟิกเกอร์หมุน 

ฟิกเกอร์แฮนด์ทูแฮนด์ (Hand to Hand)

ลวดลายนี้มี 10 ก้าว และคล้ายกับ นิวยอร์ก จะต่างกันก็ตรงที่ก้าวที่ 1 และ 6 เป็นการก้าวเท้าถอยไขว้ไปข้างหลัง โดยเต้นต่อจากเบสิค มูฟเม้นท์ หรือ อเลมานา ก็ได้ 

ลวดลาย Fan (หญิง)

เป็นลวดลายที่ถ้าเริ่มต้นจากการจับคู่แบบปิดแล้วต้องเต้น เบสิค มูฟเม้นท์ ใน 5 ก้าวแรกก่อนจึงจะเริ่มเต้นแฟนได้และเราสามารถใช้ลวดลายนี้เชื่อมกับลวดลายอื่นได้อีกหลายลวดลาย
ลวดลายนี้มี 5 ก้าวที่ลักษณะการเต้นของผู้หญิงจะเคลื่อนตัวออกจากคู่เต้นไปทางด้านซ้ายของคู่ และจบในท่าที่ฝ่ายหญิงยืนหันหน้าไปด้านข้างซ้ายของฝ่ายชาย มือซ้ายของชายจับมือขวาของหญิงเหยียดแขนออกไปพอประมาณ ส่วนมือข้างที่เหลือจะยกขึ้นไว้ข้าง ๆ ตัว 

ลวดลาย Hoeky Stick (หญิง)
ฮอกกี้ สติ๊ก ของ ชาย ประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้

ฮอกกี้ สติ๊ก ของ หญิง ประกบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้


วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบเรื่องการฟื้นคืนชีพ

1. สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อพบผู้ป่วยหมดสติคือข้อใด
ก. รีบตรวจวัดชีพจร
ข. เรียกให้คนช่วยเหลือ
ค. นวดหัวใจและผายปอด
ง. คลายเสื้อผ้าให้หายใจสะดวก
2. หลักการสำคัญในปฏิบัติการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานคือข้อใด
ก. Airway Brain Center
ข. Airway Brain Circulation
ค. Airway Breathing Circulation
ง. Airway Breeding Center
3. การทำ CPR ควรทำในเวลากี่นาทีเพื่อให้ ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ
ก. 1-2 มิลลิวินาที
ข. 3-4 นาที
ค. 5-6 กิโลวินาที
ง. 7-8 เทระวินาที
4. การจัดท่าผู้ป่วยเพื่อฟื้นคืนชีพ ควรจัดในท่าใด
ก. นอนหงายราบบนพื้นนุ่ม
ข. นอนคว่ำ
ค. ยืนทำมุม 45 องศากับผนัง
ง. นอนหงายราบบนพื้นแข็ง
5. การทำ CPR ควรทำด้วยอัตราอย่างไร
ก. เป่าปาก 1 ครั้ง กดหน้าอก 5 ครั้ง
ข. เป่าปาก 2 ครั้ง กดหน้าอก 15 ครั้ง
ค. เป่าปาก 4 ครั้ง กดหน้าอก 60 ครั้ง
ง. เป่าปาก 3 ครั้ง กดหน้าอก 30 ครั้ง

เฉลย
1. ก
2. ค
3. ข
4. ง
5. ข

การจัดท่าผู้ป่วยหลังปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ และอันตรายจากCPRที่ไม่ถูกวิธี

การจัดท่าผู้ป่วยหลังปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
     หลังปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ จนกระทั่งผู้ป่วยมีชีพจรและหายใจได้เองแล้ว แต่ยังหมดสติอยู่ หรือพบผู้ป่วยหมดสติ แต่ยังมีชีพจรและหายใจอยู่ ควรจัดให้อยู่ในท่าพักฟื้น (recovery position) ซึ่งท่านี้จะช่วยป้องกันลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ช่วยให้น้ำลายหรือเสมหะไหลออกจากปากได้ ทำให้ปลอดภัยจากการสูดสำลัก การจัดท่าทำได้ดังนี้     1. นั่งคุกเข่าข้าง ๆ ผู้ป่วย ทำ head tilt chin lift เหยียดขาผู้ป่วยให้ตรง จับแขนด้านใกล้ตัวงอและหงายมือขึ้นดังภาพ
การจับแขนด้านใกล้ตัว     
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/018.jpg
     2. จับแขนด้านไกลตัวข้ามหน้าอกมาวางมือไว้ที่แก้มอีกข้างหนึ่ง
การจับแขนด้านไกลตัว
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/019.jpg
     3. ใช้แขนอีกข้างหนึ่งจับขาไว้ ดึงพลิกตัวผู้ป่วยให้เข่างอข้ามตัวมาด้านที่ผู้ปฏิบัติอยู่ ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าตะแคง 
การจับดึงให้พลิกตัว
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/020.jpg

     4.จับศีรษะแหงนเล็กน้อย เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ปรับมือให้อยู่ใต้แก้ม และจัดขาให้งอเล็กน้อย
การจัดท่าที่สมบูรณ์
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/021.jpg
อันตรายของการทำ CPR ไม่ถูกวิธี

      1. วางมือผิดตำแหน่ง ทำให้ซี่โครงหัก , xiphoid หัก , กระดูกที่หักทิ่มโดนอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ม้าม เกิดการตกเลือดถึงตายได้
     2. การกดด้วยอัตราเร็วเกินไป เบาไป ถอนแรงหลังกดไม่หมด ทำให้ปริมาณเลือดไปถึงอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญได้น้อย ทำให้ขาดออกซิเจน
     3. การกดแรงและเร็วมากเกินไป ทำให้กระดูกหน้าอกกระดอนขึ้น ลงอย่างรวดเร็ว หัวใจช้ำเลือดหรือกระดูกหักได้
     4. การกดหน้าอกลึกเกินไป ทำให้หัวใจชอกช้ำได้
     5. การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่ เป่าลมมากเกินไป ทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหาร เกิดท้องอืด อาเจียน ลมเข้าปอดไม่สะดวก ปอดขยายตัวไม่เต็มที่
          - ถ้ามีอาการอาเจียนเกิดขึ้นก่อน หรือ ระหว่างการทำ CPR ต้องล้วงเอาเศษอาหารออกก่อน มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุของ การอุดตันของทางเดินหายใจ (airway obstruction) การช่วยหายใจไม่ได้ผล เกิดการขาดออกซิเจน
          - ถ้ามีอาการท้องอืดขึ้น ระหว่างการทำ CPR ให้จัดท่าเปิดทางเดินหายใจใหม่ และช่วยการหายใจด้วยปริมาณลมที่ไม่มากเกินไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ

ขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
ที่มา: http://healingtools.tripod.com/cpr.jpg
การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่สำคัญ คือ A B C ซึ่งต้องทำตามลำดับคือ
          1. A - Airway : การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
          2. B - Breathing : การช่วยให้หายใจ
         
          3. C - Circulation : การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง
การปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น


ตรวจสอบการหมดสติ
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/010.jpg
     2. ประเมินการหายใจโดยการทำ look listen and feel
          - look คือ ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก และหน้าท้องว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ หรือ หายใจหรือไม่
          - listen คือ ฟังเสียงลมหายใจ โดยเอียงหูของผู้ช่วยเหลือเข้าไปใกล้บริเวณจมูกและปากของผู้ป่วย ว่าได้ยินเสียงอากาศผ่านออกมาทางจมูกหรือปากหรือไม่
          - feel คือ สัมผัส โดยการใช้แก้มของผู้ช่วยเหลือสัมผัสกับความรู้สึกว่ามีลมหายใจที่ผ่านออกจากปากหรือจมูก อาจใช้สำลีหรือวัสดุบางเบาจ่อบริเวณจมูก
แสดงการทำ  look  listen and feel
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/011.jpg
     3. ถ้าพบว่าไม่หายใจให้เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น พร้อมทั้งจัดท่านอนหงายราบบนพื้นแข็ง เริ่มขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นตอนที่ 1 คือ Airway โดยการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ด้วยวิธี head tilt chin lift หรือ jaw thrust maneuver (ถ้ามีการหักของกระดูกสันหลังส่วนคอ)
     4. ทดสอบการหายใจโดยการทำ look listen and feel อีกครั้งหนึ่งถ้ายังไม่หายใจ ให้ทำขั้นตอนต่อไปคือ Breathing คือ เป่าลมหายใจ 2 ครั้ง
     5. ทดสอบว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ด้วยการจับชีพจร ถ้าไม่มีการเต้นของหัวใจ เป่าปากอีก 2 ครั้ง แล้วทำ cardiac massage ด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที โดยการนับ 1 และ2 และ 3 และ………จนถึง 15 ครั้ง
     6. ทำสลับกันอย่างนี้ ไปจนครบ 4 รอบ (1 นาที) จึงประเมินการหายใจและการเต้นของชีพจร และประเมินอีก ทุก 1 นาที
     7. ถ้ามีผู้ช่วยเหลือมาช่วยอีก ให้แบ่งการทำหน้าที่กัน เช่น ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ผายปอด ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 กดนวดหัวใจ ถ้าผู้ช่วยเหลือแต่ละคนอาจเหนื่อยและต้องการเปลี่ยนหน้าที่กัน โดยการตะโกนว่า "เปลี่ยน" ก็จะสลับหน้าที่กัน
การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ 2 คน
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/012.jpg
     8. ให้ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีบุคลากรนำอุปกรณ์มาช่วยเหลือเพิ่มเติม และรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที

การช่วยฟื้นคืนชีพในเด็ก
ขั้นตอนการปฏิบัติการฟื้นคืนชีพในเด็กทำคล้ายของผู้ใหญ่ แต่มีข้อแตกต่างกันคือ
          1. เด็กเล็กไม่ควรแหงนคอมากเพราะหลอดลมยังอ่อนอยู่ อาจมีการตีบตันได้
          2. การเป่าปากควรประกบครอบทั้งปากและจมูก
          3. สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ
               - เป่าปากและจมูกครั้งละ 3 วินาที
               - ให้คลำชีพจรที่ brachial pulse
               - หาตำแหน่งกดนวดหัวใจโดย ลากเส้นตรงผ่านหัวนมจากด้านซ้ายถึงด้านขวา วางนิ้วมือ 3 นิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง) ถัดจากแนวเส้นตรงที่วัดได้บนกระดูกหน้าอก จากนั้นยกนิ้วชี้ขึ้น ใช้นิ้วกลางและนิ้วนางกดลงเบาๆ ให้กระดูกหน้าอกยุบลง 0.5 - 1 นิ้ว
               - นวดหัวใจด้วยอัตราเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที โดยนวดหัวใจ 5 ครั้ง เป่าปาก 1 ครั้ง เมื่อทำครบ 10 รอบแล้วประเมินโดยการจับชีพจร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก