ขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
ที่มา: http://healingtools.tripod.com/cpr.jpg
การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่สำคัญ คือ A B C ซึ่งต้องทำตามลำดับคือ
1. A - Airway : การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
2. B - Breathing : การช่วยให้หายใจ
3. C - Circulation : การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง
การปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/010.jpg 2. ประเมินการหายใจโดยการทำ look listen and feel
- look คือ ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก และหน้าท้องว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ หรือ หายใจหรือไม่
- listen คือ ฟังเสียงลมหายใจ โดยเอียงหูของผู้ช่วยเหลือเข้าไปใกล้บริเวณจมูกและปากของผู้ป่วย ว่าได้ยินเสียงอากาศผ่านออกมาทางจมูกหรือปากหรือไม่
- feel คือ สัมผัส โดยการใช้แก้มของผู้ช่วยเหลือสัมผัสกับความรู้สึกว่ามีลมหายใจที่ผ่านออกจากปากหรือจมูก อาจใช้สำลีหรือวัสดุบางเบาจ่อบริเวณจมูก
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/011.jpg 3. ถ้าพบว่าไม่หายใจให้เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น พร้อมทั้งจัดท่านอนหงายราบบนพื้นแข็ง เริ่มขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นตอนที่ 1 คือ Airway โดยการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ด้วยวิธี head tilt chin lift หรือ jaw thrust maneuver (ถ้ามีการหักของกระดูกสันหลังส่วนคอ)
4. ทดสอบการหายใจโดยการทำ look listen and feel อีกครั้งหนึ่งถ้ายังไม่หายใจ ให้ทำขั้นตอนต่อไปคือ Breathing คือ เป่าลมหายใจ 2 ครั้ง
5. ทดสอบว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ด้วยการจับชีพจร ถ้าไม่มีการเต้นของหัวใจ เป่าปากอีก 2 ครั้ง แล้วทำ cardiac massage ด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที โดยการนับ 1 และ2 และ 3 และ………จนถึง 15 ครั้ง
6. ทำสลับกันอย่างนี้ ไปจนครบ 4 รอบ (1 นาที) จึงประเมินการหายใจและการเต้นของชีพจร และประเมินอีก ทุก 1 นาที
7. ถ้ามีผู้ช่วยเหลือมาช่วยอีก ให้แบ่งการทำหน้าที่กัน เช่น ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ผายปอด ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 กดนวดหัวใจ ถ้าผู้ช่วยเหลือแต่ละคนอาจเหนื่อยและต้องการเปลี่ยนหน้าที่กัน โดยการตะโกนว่า "เปลี่ยน" ก็จะสลับหน้าที่กัน
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/012.jpg 8. ให้ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีบุคลากรนำอุปกรณ์มาช่วยเหลือเพิ่มเติม และรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที |
|
|
|
การช่วยฟื้นคืนชีพในเด็ก
ขั้นตอนการปฏิบัติการฟื้นคืนชีพในเด็กทำคล้ายของผู้ใหญ่ แต่มีข้อแตกต่างกันคือ
1. เด็กเล็กไม่ควรแหงนคอมากเพราะหลอดลมยังอ่อนอยู่ อาจมีการตีบตันได้
2. การเป่าปากควรประกบครอบทั้งปากและจมูก
3. สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ
- เป่าปากและจมูกครั้งละ 3 วินาที
- ให้คลำชีพจรที่ brachial pulse
- หาตำแหน่งกดนวดหัวใจโดย ลากเส้นตรงผ่านหัวนมจากด้านซ้ายถึงด้านขวา วางนิ้วมือ 3 นิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง) ถัดจากแนวเส้นตรงที่วัดได้บนกระดูกหน้าอก จากนั้นยกนิ้วชี้ขึ้น ใช้นิ้วกลางและนิ้วนางกดลงเบาๆ ให้กระดูกหน้าอกยุบลง 0.5 - 1 นิ้ว
- นวดหัวใจด้วยอัตราเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที โดยนวดหัวใจ 5 ครั้ง เป่าปาก 1 ครั้ง เมื่อทำครบ 10 รอบแล้วประเมินโดยการจับชีพจร
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น