วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลการจัดทำ

รายงาน
เรื่อง ระบบประสาท การช่วยฟื้นคืนชีพ และประวัติความเป็นมาของจังหวะ Cha-Cha-Cha

รายวิชา สุขศึกษา และพลศึกษา รหัสวิชา พ 30106 
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554
 
จัดทำโดย
นายนฤชิต  ฐานุธนาคุณ  เลขที่ 16
นายปรุฬห์  ลออโรจนวงศ์  เลขที่ 17
นายพชรพงศ์  พงศะบุตร  เลขที่ 18
นายสรณ  อัครเสวี  เลขที่ 22
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2

ประวัติความเป็นมาของจังหวะ Cha-Cha-Cha




จังหวะ ชา ชา ชา (Cha-Cha-Cha)
ประวัติ


จังหวะชา ชา ชา (Cha-Cha-Cha) เปนจังหวะลีลาศประเภทลาตินอเมริกัน เปนที่นิยมเตนกันมาก มี กําเนิดมาจากประเทศโดมินิกันและคิวบา จังหวะ ชา ชา ชา ไดรับการพัฒนามาจากจังหวะ แมมโบ (Mambo) และเปนจังหวะลาตินที่คนสวนมากชอบที่จะเรียนรูเปนอับดับแรก ชื่อของจังหวะนี้ ตั้งขึ้นโดยการเลียนเสียง รองเทา ของสตรีชาวคิวบาขณะที่กําลังเตนรํา จังหวะ ชา ชา ชา ไดถูกพบเห็นเปนครั้งแรกที่ประเทศอเมริกา และเผยแพรไปในยุโรป เกือบจะเปนเวลาเดียวกันกับจังหวะแมมโบ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะแมม โบไดเสื่อมความนิยมลงไป ผูคนหันมานิยมจังหวะ ชา ชา ชา และไดรับความนิยมอยางจริงจังในป ค.ศ. 1956 เมื่อไมนานมานี้เปนที่ตกลงกันไววา ใหตัดทอนชื่อใหสั้นลงเปน ชา ชาในประเทศไทยประมาณป พ.ศ. 2498 ไดมีการแสดงของวงดนตรี ซีซา วาเลสโก ที่สวนลุมพินี โดย มิสเตอร เออรนี่ ชาวฟลิปปนสไดนําลีลาการเตน ชา ชา ชา มาประกอบเพลง

องคประกอบทั่วไป
จังหวะดนตรี เปนจังหวะแบบ 4/4 หมายถึงใน 1 หองเพลงจะมี 4 จังหวะ มีเสียงเนนหนักจังหวะที่1
ความเร็ว ดนตรีบรรเลงดวยความเร็วประมาณ 30-31 หองเพลงตอนาที

การนับ   1. นับตามการกาวเทาเปนตัวเลข 1– 2 – 3, 4, 5 หรือ 1– 2 – 3 และ 4 หรือ 1 – 2 – 
                    ชา, ชา, ชา
                2. นับเปนจังหวะชาเร็ว ชา – ชา – เร็ว, เร็ว, เร็ว
                3. นับตามจังหวะดนตรีนับเปน2-3-4และ1
การกาว  เนื่องจากจังหวะ ชา ชา ชา มีอยู 4 จังหวะ แตตองกาวเทา 5 กาว ลักษณะการกาวเทาใหลง   จังหวะดนตรี (2-3,4และ1)ทําไดดังนี้
กาวที่ 1 และ 2 ตรงกับจังหวะดนตรที ี่ 2 และ 3 กาวที่ 3, 4, 5 ตรงกับจังหวะดนตรที ี่ 4 และ 1โดยรวบกาวที่ 3, 4 ใหตรงกับจังหวะที่ 4 สวนกาวที่ 5 ตรงกับจังหวะที่ 1 
เอกลักษณเฉพาะ กระจุมกระจิ๋ม สนุกสนาน เบิกบาน การแสดงออกถึงความรักใคร


ฟิกเกอร์พื้นฐาน

1.  Chasse
2. Basic Movement
3. Sport Turn
4. New York
5. Shoulder to Shoulder
6. Hand to Hand
7. Fan
8. Hockey Stick




แบบทดสอบ เรื่อง จังหวะ Cha-Cha-Cha

1. จังหวะดนตรีในการเต้นลีลาศใน 1 ห้องเพลงมีกี่จังหวะ
ก.1
ข.2
ค.3
ง.4
2. ฟิกเกอร์พื้นฐานของลีลาศแบบชะชะช่ามีกี่รูปแบบ
ก.7
ข.8
ค.9
ง.10
3. ลีลาศแบบชะชะช่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศใด
ก.ประเทศโดมินิกันและคิวบา
ข.ประเทศไทย
ค.ประเทศอเมริกา
ง.ประเทศอินเดีย
4. ชื่อของลีลาศแบบชะชะช่ามีที่มาจากการเลียนเสียงของอะไร
ก.กลอง
ข.รองเท้า
ค.มือ
ง.จังหวะเท้า
5. การเต้นลีลาศแบบชะชะช่ามีเอกลักษณ์อย่างไร
ก.เศร้า
ข.สร้างความตื่นเต้น
ค.สนุกสนาน เบิกบาน
ง.ความระทึกใจ






เฉลย
1.ง
2.ข
3.ก
4.ข
5.ค

จังหวะ Cha-Cha-Cha (2)

ฟิกเกอร์แชสเซ่ (Chasse)
แชสเซ่ เป็นส่วนประกอบของฟิกเกอร์ต่าง ๆ ประกอบไปด้วยการก้าวสั้น ๆ 3 ก้าว ต่อการเต้น
2 จังหวะ การทำแชสเซ่ทำได้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา, หน้า หลัง, เฉียงไปข้างหน้าหรือข้างหลัง

ฟิกเกอร์ทักษะเบื้องต้น (ชายและหญิง)



เบสิค มูฟเม้นท์ ของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า เป็นการเต้นพื้นฐานที่ประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว แบ่งเป็นเดิน หน้า 5 ก้าวและถอยหลัง5 ก้าว ในการฝึกเดินสำหรับผู้หัดใหม่ควรเริ่มเดินแบบเดินหน้าและถอยหลังตรง ๆ ก่อน แล้วจึงเริ่มหมุนโดยการหมุนตัวไปทางซ้ายครั้งละ 1/8 รอบหรือ 1/4 รอบใน 5 ก้าวต่อไป10 ก้าวแล้วจะหมุนตัวไปทางซ้าย 90 องศา หรือ 1/4 รอบ ควรฝึกลวดลายนี้จนกระทั่งเต้นได้ถูกต้องตรงตามจังหวะดนตรีแล้วจึงฝึกลวดลายอื่น ๆ ต่อไป
ปริมาณการหมุน : หมุนตัวไปทางซ้าย 1/8 รอบในก้าวที่ 3 และหมุนตัวไปทางซ้ายอีก 1/8 รอบในก้าวที่ 8 นั่นคือเมื่อเดินครบ


เบสิค มูฟเม้นท์ ของ หญิงประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้


ฟิกเกอร์หมุน (Spot Turn)
การหมุนไปทางขวาประกอบด้วยการเดิน 5 ก้าว ดังนี้


ฟิกเกอร์นิวยอร์ค (ชาย)

นิวยอร์กเป็นลวดลายที่ประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกหัดควรทำต่อจาก เบสิค มูฟเม้นท์ ต่อเมื่อได้ฝึกลวดลายอื่น ๆ แล้วจึงเต้นเชื่อมเข้ากับลวดลายอื่น ๆ เช่น ฮอกกี้ สติ๊ก ต่อไป
นิวยอร์ก ชาย
นิวยอร์ก ของชายประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการจับคู่แบบปิดแล้นำคู่เต้นเข้าสู่ นิวยอร์ก โดยในก้าวที่ 6 – 10 ของเบสิค มูฟเม้นท์ ฝ่ายชายจะปล่อยมือขวาที่จับอยู่ด้านหลังและยกขึ้นข้างลำตัว ยืนห่างจากคู่พอสมควร


นิวยอร์ก หญิง
นิวยอร์ก ของหญิงประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการจับคู่แบบปิดแล้วเต้น เบสิค มูฟเม้นท์ ในก้าวที่ 6 – 10 ผู้หญิงจะปล่อยมือซ้ายออกจากคู่  ยกแขนด้านนี้ขึ้นข้างลำตัว

การจบ : เมื่อเต้นลวดลายนี้ครบ 15 ก้าวให้ต่อด้วย สปอต เทิร์น ซึ่งเป็นการหมุนตัวอยู่กับที่ไปทางขวา

ฟิกเกอร์โชลเดอร์ ทูโชลเดอร์ (Shoulder to Shoulder)

ทำต่อจากฟิกเกอร์ทักษะเบื้องต้น หรือฟิกเกอร์หมุน 

ฟิกเกอร์แฮนด์ทูแฮนด์ (Hand to Hand)

ลวดลายนี้มี 10 ก้าว และคล้ายกับ นิวยอร์ก จะต่างกันก็ตรงที่ก้าวที่ 1 และ 6 เป็นการก้าวเท้าถอยไขว้ไปข้างหลัง โดยเต้นต่อจากเบสิค มูฟเม้นท์ หรือ อเลมานา ก็ได้ 

ลวดลาย Fan (หญิง)

เป็นลวดลายที่ถ้าเริ่มต้นจากการจับคู่แบบปิดแล้วต้องเต้น เบสิค มูฟเม้นท์ ใน 5 ก้าวแรกก่อนจึงจะเริ่มเต้นแฟนได้และเราสามารถใช้ลวดลายนี้เชื่อมกับลวดลายอื่นได้อีกหลายลวดลาย
ลวดลายนี้มี 5 ก้าวที่ลักษณะการเต้นของผู้หญิงจะเคลื่อนตัวออกจากคู่เต้นไปทางด้านซ้ายของคู่ และจบในท่าที่ฝ่ายหญิงยืนหันหน้าไปด้านข้างซ้ายของฝ่ายชาย มือซ้ายของชายจับมือขวาของหญิงเหยียดแขนออกไปพอประมาณ ส่วนมือข้างที่เหลือจะยกขึ้นไว้ข้าง ๆ ตัว 

ลวดลาย Hoeky Stick (หญิง)
ฮอกกี้ สติ๊ก ของ ชาย ประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้

ฮอกกี้ สติ๊ก ของ หญิง ประกบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้


วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบเรื่องการฟื้นคืนชีพ

1. สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อพบผู้ป่วยหมดสติคือข้อใด
ก. รีบตรวจวัดชีพจร
ข. เรียกให้คนช่วยเหลือ
ค. นวดหัวใจและผายปอด
ง. คลายเสื้อผ้าให้หายใจสะดวก
2. หลักการสำคัญในปฏิบัติการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานคือข้อใด
ก. Airway Brain Center
ข. Airway Brain Circulation
ค. Airway Breathing Circulation
ง. Airway Breeding Center
3. การทำ CPR ควรทำในเวลากี่นาทีเพื่อให้ ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ
ก. 1-2 มิลลิวินาที
ข. 3-4 นาที
ค. 5-6 กิโลวินาที
ง. 7-8 เทระวินาที
4. การจัดท่าผู้ป่วยเพื่อฟื้นคืนชีพ ควรจัดในท่าใด
ก. นอนหงายราบบนพื้นนุ่ม
ข. นอนคว่ำ
ค. ยืนทำมุม 45 องศากับผนัง
ง. นอนหงายราบบนพื้นแข็ง
5. การทำ CPR ควรทำด้วยอัตราอย่างไร
ก. เป่าปาก 1 ครั้ง กดหน้าอก 5 ครั้ง
ข. เป่าปาก 2 ครั้ง กดหน้าอก 15 ครั้ง
ค. เป่าปาก 4 ครั้ง กดหน้าอก 60 ครั้ง
ง. เป่าปาก 3 ครั้ง กดหน้าอก 30 ครั้ง

เฉลย
1. ก
2. ค
3. ข
4. ง
5. ข

การจัดท่าผู้ป่วยหลังปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ และอันตรายจากCPRที่ไม่ถูกวิธี

การจัดท่าผู้ป่วยหลังปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
     หลังปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ จนกระทั่งผู้ป่วยมีชีพจรและหายใจได้เองแล้ว แต่ยังหมดสติอยู่ หรือพบผู้ป่วยหมดสติ แต่ยังมีชีพจรและหายใจอยู่ ควรจัดให้อยู่ในท่าพักฟื้น (recovery position) ซึ่งท่านี้จะช่วยป้องกันลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ช่วยให้น้ำลายหรือเสมหะไหลออกจากปากได้ ทำให้ปลอดภัยจากการสูดสำลัก การจัดท่าทำได้ดังนี้     1. นั่งคุกเข่าข้าง ๆ ผู้ป่วย ทำ head tilt chin lift เหยียดขาผู้ป่วยให้ตรง จับแขนด้านใกล้ตัวงอและหงายมือขึ้นดังภาพ
การจับแขนด้านใกล้ตัว     
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/018.jpg
     2. จับแขนด้านไกลตัวข้ามหน้าอกมาวางมือไว้ที่แก้มอีกข้างหนึ่ง
การจับแขนด้านไกลตัว
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/019.jpg
     3. ใช้แขนอีกข้างหนึ่งจับขาไว้ ดึงพลิกตัวผู้ป่วยให้เข่างอข้ามตัวมาด้านที่ผู้ปฏิบัติอยู่ ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าตะแคง 
การจับดึงให้พลิกตัว
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/020.jpg

     4.จับศีรษะแหงนเล็กน้อย เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ปรับมือให้อยู่ใต้แก้ม และจัดขาให้งอเล็กน้อย
การจัดท่าที่สมบูรณ์
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/021.jpg
อันตรายของการทำ CPR ไม่ถูกวิธี

      1. วางมือผิดตำแหน่ง ทำให้ซี่โครงหัก , xiphoid หัก , กระดูกที่หักทิ่มโดนอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ม้าม เกิดการตกเลือดถึงตายได้
     2. การกดด้วยอัตราเร็วเกินไป เบาไป ถอนแรงหลังกดไม่หมด ทำให้ปริมาณเลือดไปถึงอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญได้น้อย ทำให้ขาดออกซิเจน
     3. การกดแรงและเร็วมากเกินไป ทำให้กระดูกหน้าอกกระดอนขึ้น ลงอย่างรวดเร็ว หัวใจช้ำเลือดหรือกระดูกหักได้
     4. การกดหน้าอกลึกเกินไป ทำให้หัวใจชอกช้ำได้
     5. การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่ เป่าลมมากเกินไป ทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหาร เกิดท้องอืด อาเจียน ลมเข้าปอดไม่สะดวก ปอดขยายตัวไม่เต็มที่
          - ถ้ามีอาการอาเจียนเกิดขึ้นก่อน หรือ ระหว่างการทำ CPR ต้องล้วงเอาเศษอาหารออกก่อน มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุของ การอุดตันของทางเดินหายใจ (airway obstruction) การช่วยหายใจไม่ได้ผล เกิดการขาดออกซิเจน
          - ถ้ามีอาการท้องอืดขึ้น ระหว่างการทำ CPR ให้จัดท่าเปิดทางเดินหายใจใหม่ และช่วยการหายใจด้วยปริมาณลมที่ไม่มากเกินไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ

ขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
ที่มา: http://healingtools.tripod.com/cpr.jpg
การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่สำคัญ คือ A B C ซึ่งต้องทำตามลำดับคือ
          1. A - Airway : การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
          2. B - Breathing : การช่วยให้หายใจ
         
          3. C - Circulation : การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง
การปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น


ตรวจสอบการหมดสติ
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/010.jpg
     2. ประเมินการหายใจโดยการทำ look listen and feel
          - look คือ ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก และหน้าท้องว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ หรือ หายใจหรือไม่
          - listen คือ ฟังเสียงลมหายใจ โดยเอียงหูของผู้ช่วยเหลือเข้าไปใกล้บริเวณจมูกและปากของผู้ป่วย ว่าได้ยินเสียงอากาศผ่านออกมาทางจมูกหรือปากหรือไม่
          - feel คือ สัมผัส โดยการใช้แก้มของผู้ช่วยเหลือสัมผัสกับความรู้สึกว่ามีลมหายใจที่ผ่านออกจากปากหรือจมูก อาจใช้สำลีหรือวัสดุบางเบาจ่อบริเวณจมูก
แสดงการทำ  look  listen and feel
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/011.jpg
     3. ถ้าพบว่าไม่หายใจให้เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น พร้อมทั้งจัดท่านอนหงายราบบนพื้นแข็ง เริ่มขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นตอนที่ 1 คือ Airway โดยการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ด้วยวิธี head tilt chin lift หรือ jaw thrust maneuver (ถ้ามีการหักของกระดูกสันหลังส่วนคอ)
     4. ทดสอบการหายใจโดยการทำ look listen and feel อีกครั้งหนึ่งถ้ายังไม่หายใจ ให้ทำขั้นตอนต่อไปคือ Breathing คือ เป่าลมหายใจ 2 ครั้ง
     5. ทดสอบว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ด้วยการจับชีพจร ถ้าไม่มีการเต้นของหัวใจ เป่าปากอีก 2 ครั้ง แล้วทำ cardiac massage ด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที โดยการนับ 1 และ2 และ 3 และ………จนถึง 15 ครั้ง
     6. ทำสลับกันอย่างนี้ ไปจนครบ 4 รอบ (1 นาที) จึงประเมินการหายใจและการเต้นของชีพจร และประเมินอีก ทุก 1 นาที
     7. ถ้ามีผู้ช่วยเหลือมาช่วยอีก ให้แบ่งการทำหน้าที่กัน เช่น ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ผายปอด ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 กดนวดหัวใจ ถ้าผู้ช่วยเหลือแต่ละคนอาจเหนื่อยและต้องการเปลี่ยนหน้าที่กัน โดยการตะโกนว่า "เปลี่ยน" ก็จะสลับหน้าที่กัน
การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ 2 คน
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/cai/images/cpr/012.jpg
     8. ให้ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีบุคลากรนำอุปกรณ์มาช่วยเหลือเพิ่มเติม และรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที

การช่วยฟื้นคืนชีพในเด็ก
ขั้นตอนการปฏิบัติการฟื้นคืนชีพในเด็กทำคล้ายของผู้ใหญ่ แต่มีข้อแตกต่างกันคือ
          1. เด็กเล็กไม่ควรแหงนคอมากเพราะหลอดลมยังอ่อนอยู่ อาจมีการตีบตันได้
          2. การเป่าปากควรประกบครอบทั้งปากและจมูก
          3. สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ
               - เป่าปากและจมูกครั้งละ 3 วินาที
               - ให้คลำชีพจรที่ brachial pulse
               - หาตำแหน่งกดนวดหัวใจโดย ลากเส้นตรงผ่านหัวนมจากด้านซ้ายถึงด้านขวา วางนิ้วมือ 3 นิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง) ถัดจากแนวเส้นตรงที่วัดได้บนกระดูกหน้าอก จากนั้นยกนิ้วชี้ขึ้น ใช้นิ้วกลางและนิ้วนางกดลงเบาๆ ให้กระดูกหน้าอกยุบลง 0.5 - 1 นิ้ว
               - นวดหัวใจด้วยอัตราเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที โดยนวดหัวใจ 5 ครั้ง เป่าปาก 1 ครั้ง เมื่อทำครบ 10 รอบแล้วประเมินโดยการจับชีพจร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

การช่วยฟื้นคืนชีพ ภาวะหยุดหายใจหัวใจหยุดเต้นและสาเหตุ



ความหมายของปฏิบัติการณ์ฟื้นคืนชีพ
 
ที่มา: http://smcup.com/data/er/pic/009d.jpg
        หมายถึง การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิม ป้องกันเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร ซึ่งสามารถทำได้โดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support) ได้แก่ การผายปอด และการนวดหัวใจภายนอก
ภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น
        เป็นภาวะที่มีการหยุดการทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจและการไหลเวียนเลือด ส่วนมากมักจะพบว่ามีการหยุดหายใจก่อนเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น และ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง จะทำให้เสียชีวิตได้
สาเหตุของการหยุดหายใจ

     1. ทางเดินหายใจอุดตันจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ การแขวนคอ การถูกบีบรัดคอ การรัดคอ เป็นต้น ในเด็กเล็กสาเหตุจากการหยุดหายใจที่พบได้มากที่สุดคือ การสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าหลอดลม เช่น ของเล่นชิ้นเล็ก ๆ เมล็ดถั่ว เป็นต้น
     2. มีการสูดดมสารพิษ แก็สพิษ ควันพิษ
     3. การถูกกระแสไฟฟ้าแรงสูงดูด
     4. การจมน้ำ
     5. การบาดเจ็บที่ทรวงอก ทำให้ทางเดินหายใจได้รับอันตรายและเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ
     6. โรคระบบประสาท เช่น บาดทะยัก ไขสันหลังอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อหายใจเป็นอัมพาต
     7. การได้รับสารพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ผึ้ง ต่อ แตน ต่อยบริเวณคอ หน้า ทำให้มีการบวมของเนื้อเยื่อของทางเดินหายใจและหลอดลมมีการหดเกร็ง
     8. การได้รับยากดศูนย์ควบคุมการหายใจ เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น โคเคน บาร์บิทูเรต ฯลฯ
     9. โรคหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเฉียบพลัน
     10. มีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และมีภาวะหายใจวายจากสาเหตุต่างๆ 
สาเหตุของหัวใจหยุดเต้น

     1. หัวใจวายจากโรคหัวใจ จากการออกกำลังกายมากเกินปกติ หรือตกใจหรือเสียใจกระทันหัน
     2. มีภาวะช็อคเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน จากการสูญเสียเลือดมาก ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือมีเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอ
     3. ทางเดินหายใจอุดกั้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
     4. การได้รับยาเกินขนาดหรือการแพ้


ข้อบ่งชี้ในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
     1. ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจ โดยที่หัวใจยังคงเต้นอยู่ประมาณ 2-3 นาที ให้ผายปอดทันที จะช่วยป้องกันภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ และช่วยป้องกันการเกิดภาวะเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจนอย่างถาวร
     2. ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นพร้อมกัน ซึ่งเรียกว่า clinical death การช่วยฟื้นคืนชีพทันทีจะช่วยป้องกันการเกิด biological death คือ เนื้อเยื่อโดยเฉพาะเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจน
     ระยะเวลาของการเกิด biological death หลังจาก clinical death ยังไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่โดยทั่วไป มักจะเกิดช่วง 4-6 นาที หลังเกิด clinical death ดังนั้นการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพจึงควรทำภายใน นาที
ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System: PNS)

ที่มา: http://stevegallik.org/sites/histologyolm.stevegallik.org/images/nervoussystem2.jpg
          ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System)  ทำหน้าที่รับและนำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง  ได้แก่  สมองและไขสันหลัง  จากนั้นนำกระแสประสาทสั่งการจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังหน่วยปฏิบัติงาน  ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกและอวัยวะรับสัมผัส  รวมทั้งเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่อยู่นอกระบบประสาทส่วนกลาง   
          ระบบประสาทรอบนอกจำแนกตามลักษณะการทำงานได้  2  แบบดังนี้
          1.  ระบบประสาทภายใต้อำนาจจิตใจ  (somatic nervous system : SNS) เป็นระบบควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่บังคับได้รวมทั้งการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
ที่มา: http://alexandria.healthlibrary.ca/documents/notes/bom/unit_2/Mandl/28img/28no5.gif
          2.  ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ  (autonomic nervous system : ANS) เป็นระบบประสาทที่ทำงานโดยอัตโนวัติ  มีศูนย์กลางควบคุมอยู่ในสมองและไขสันหลัง  ได้แก่  การเกิดรีเฟลกซ์แอกชัน (reflex action) และเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นที่อวัยวะรับสัมผัสเช่น ผิวหนัง  กระแสประสาทจะส่งไปยังไขสันหลัง  และไขสันหลังจะสั่งการตอบสนองไปยังกล้ามเนื้อโดยไม่ผ่านไปที่สมอง ดังรูป เมื่อมีเปลวไฟมาสัมผัสที่ปลายนิ้ว  กระแสประสาทจะถูกส่งผ่านไปยังไขสันหลังโดยไม่ผ่านไปยังสมอง  ไขสันหลังทำหน้าที่สั่งการให้กล้ามเนื้อที่แขนเกิดการหดตัว  เพื่อดึงมือออกจากเปลวไฟทันที
ที่มา: http://www.carolguze.com/images/organsystems/motorneurons.gif
          ระบบประสาทอัตโนวัติ  แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย ดังนี้
2.1 ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system)
2.2
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous system)
ที่มา: http://www.reuniting.info/images/PNS.GIF
วิดีทัศน์ "Peripheral Nervous System" 

ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System: CNS)

           ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System: CNS) เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกาย  ซึ่งทำงานพร้อมกันทั้งในด้านกลไกและทางเคมีภายใต้อำนาจจิตใจ  ซึ่งประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง  โดยเส้นประสาทหลายล้านเส้นจากทั่วร่างกายจะส่งข้อมูลในรูปกระแสประสาทออกจากบริเวณศูนย์กลาง  มีอวัยวะที่เกี่ยวข้องดังนี้
ที่มา: http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/images/ency/fullsize/19588.jpg
 1.  สมอง (brain)  ป็นส่วนที่ใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ ของระบบประสาทส่วนกลาง  ทำหน้าที่ควบคุมการทำกิจกรรมทั้งหมดของร่างกาย  เป็นอวัยวะชนิดเดียวที่แสดงความสามารถด้านสติปัญญา
          การทำกิจกรรมหรือการแสดงออกต่างๆ สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่สำคัญแบ่งออกเป็น  3  ส่วนดังนี้
          1.1  เซรีบรัมเฮมิสเฟียร์ (cerebrum hemisphere) คือสมองส่วนหน้า  ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมที่ซับซ้อนเกี่ยวกับความรู้สึกและอารมณ์  ควบคุมความคิด  ความจำ  และความเฉลียวฉลาด เชื่อมโยงความรู้สึกต่างๆ เช่น การได้ยิน  การมองเห็น การรับกลิ่น  การรับรส  การรับสัมผัส  เป็นต้น
          1.2  เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata)  คือส่วนที่อยู่ติดกับไขสันหลัง  ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ  เช่น  การหายใจ  การเต้นของหัวใจ  การไอ  การจาม การกะพริบตา  ความดันเลือด เป็นต้น
          1.3  เซรีเบลลัม (cerebellum) คือสมองส่วนท้าย  เป็นส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและการทรงตัว ช่วยให้เคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำ  เช่น การเดิน  การวิ่ง  การขี่จักรยาน  เป็นต้น
ที่มา: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiYRA69czxTLBMUbhYO0XBArbi2Ebp6DrgCzV0TNmJ4RLCy03P3KOlETL2T7v0ve48ooS6-8EJNu5ttIPhrqB4vs1E1kddyrN0PHuSCbIOMulGth0HYkjLkHMkTJwhmb1KL1LTiUXb9sX4M/s1600/brain1.jpg
2. ไขสันหลัง (spinal cord) เป็นเนื้อเยื่อประสาทที่ทอดยาวจากสมองไปภายในโพรงกระดูกสันหลัง กระแสประสาทจากส่วนต่างๆ ของร่างกายจะผ่านไขสันหลัง  มีทั้งกระแสประสาทเข้า และกระแสประสาทออกจากสมอง  และกระแสประสาทที่ติดต่อกับไขสันหลังโดยตรง
ที่มา: http://www.daviddarling.info/images/spinal_cord.jpg
3.  เซลล์ประสาท (neuron)  เป็นหน่วนที่เล็กที่สุดของระบบประสาท  เซลล์ประสาทมีเยื่อหุ้มเซลล์ไซโทพลาสซึมและนิวเคลียสเหมือนเซลล์อื่นๆ แต่มีรูปร่างและลักษณะแตกต่างออกไป เซลล์ประสาทประกอบด้วยตัวเซลล์และเส้นใยประสาทที่มี  2  แบบคือ เดนไดรต์ (dendrite) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์และแอกซอน (axon) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆ เซลล์ประสาทจำแนกตามหน้าที่การทำงานได้  3 ชนิด คือ
          3.1  เซลล์ประสาทรับความรู้สึก  รับความรู้สึกจากอวัยวะสัมผัส  เช่น จมูก  ตา  หู  ผิวหนัง  ส่งกระแสประสาทผ่านเซลล์ประสาทประสานงาน
          3.2  เซลล์ประสาทประสาน เป็นตัวเชื่อมโยงกระแสประสาทระหว่างเซลล์รับความรู้สึกกับสมอง  ไขสันหลัง  และ เซลล์ประสาทสั่งการ พบในสมองและไขสันหลังเท่านั้น
          3.3  เซลล์ประสาทสั่งการ  รับคำสั่งจากสมองหรือไขสันหลัง  เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ 
ที่มา: http://webanatomy.net/anatomy/neuron_functions.jpg
การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
          สิ่งเร้าหรือการกระตุ้นจัดเป็นข้อมูลที่เส้นประสาทนำไปยังระบบประสาทส่วนกลางเรียกว่า กระแสประสาท เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่นำไปสู่เซลล์ประสาททางด้านเดนไดรต์ และเดินทางออกอย่างรวดเร็วทางด้านแอกซอน  แอกซอนส่วนใหญ่มีแผ่นไขมันหุ้มไว้เป็นช่วงๆ แผ่นไขมันนี้ทำหน้าที่เป็นฉนวนและทำให้กระแสประสาทเดินทางได้เร็วขึ้น  ถ้าแผ่นไขมันนี้ฉีกขาดอาจทำให้กระแสประสาทช้าลง  ทำให้สูญเสียความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ  เนื่องจากการรับคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางได้ไม่ดี
ที่มา: http://www.chiropractique.com/img/images/relation_organe-BIG.jpg
 ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.esanpt1.go.th/nites/body-wbi/body-wbi/lesson-prasate.htm


ระบบประสาท (Nervous System)


ที่มา: http://elderlyjournal.com/images/Chest-Pain-And-Central-Nervous-System.jpg
          ระบบประสาท (nervous system) คือ ระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ ทำให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างรวดเร็ว  ช่วยรวบรวมข้อมูลเพื่อให้สามารถตอบสนองได้   สัตว์ชั้นต่ำบางชนิด เช่น ฟองน้ำ  ไม่มีระบบประสาท  สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดเริ่มมีระบบประสาท  สัตว์ชั้นสูงขึ้นมาจะมีโครงสร้างของระบบประสาทซับซ้อนยิ่งขึ้น


หน้าที่ของระบบประสาท
1. ควบคุมอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ทํางานประสานกัน
2. ควบคุมความคิด อ่าน การพูด การแปลความหมาย
3. ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เกิดสมดุล
4. รับความรู้สึกทุกสิ่งทุกอย่างจากภายนอก และตอบสนองต่อความรู้สึกนั้นๆ
5. ช่วยควบคุมอวัยวะที่ทําให้มีชีวิต (Vital
organ) เช่น หัวใจ ปอด ให้ทํางานเป็นปกติ และมีความสม่ําเสมอ

          ระบบประสาทของสัตว์ชั้นสูง แบ่งตามโครงสร้างได้ 2 ระบบ
1. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System: CNS) ประกอบด้วยสมองและ ไขสันหลัง
2. ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System: PNS) ประกอบด้วยเส้นประสาท สมองและเส้น ประสาทไขสันหลัง

หรือ แบ่งตามหน้าที่การทํางานออกได้เป็น 2 ระบบ คือ
1. ระบบประสาทโซมาติก 
(Somatic Nervous System : SNS) ได้แก่ กล้ามเนื้อลาย
2. ระบบประสาทอัตโนมัติ(Autonomic Nervous System : ANS)
หมายถึง เส้นประสาทที่ทํางานได้เอง โดยอยู่นอกอํานาจิตใจ แบ่งย่อย ออกเป็น 2 พวก คือ

          
2.1 ประสาทซิมพาเทติก(Sympathetic Nerve หรือ Craniosacral System) ทําหน้าที่ขณะตื่นตกใจ กลัว โกรธ หรือเกิดการต่อสู้

          2.2 ประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nerve หรือ Thoracolumbar System) ทําหน้าที่ตรงข้ามกับประสาทซิมพาเทติก


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.esanpt1.go.th/nites/body-wbi/body-wbi/lesson-prasate.htm

เซลล์ประสาท (Neuron)

          ร่างกายคนมี เซลล์ประสาท (nerve cell) หรือ นิวรอน (neuron) จำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้และการตอบสนอง แต่ละเซลล์อาจมีการเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับเซลล์ประสาทอื่นเป็นพันๆ เซลล์ เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มากที่เซลล์์จำนวนมากสามารถทำงานเกี่ยวกับการรับส่งสัญญาณระหว่างสิ่งเร้าภายนอกและภายในร่างกายได้อย่างมีระบบ เซลล์ประสาท ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญสองส่วน คือ ตัวเซลล(cell body) และใยประสาท (nerve fiber)
ที่มา: http://www.freewebs.com/neuroscience/glial.gif
1. ตัวเซลล์ (cell body) เป็นส่วนของไซโทพลาซึมและนิวเคลียส ตัวเซลล์มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ
4 - 25 ไมโครเมตร ภายในมีออร์แกเนลล์ที่สำคัญ คือ ไมโทคอนเดรีย เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
และกอลจิคอมเพล็กซ
์ จำนวนมาก
 

2. ใยประสาท (nerve fiber) โดยส่วนที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ เรียกว่า เดนไดรต(dendrite) ใยประสาทนำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ เรียกว่า แอกซอน (axon) เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์จะมีเดนไดรต์แยกจากตัวเซลล์หนึ่งใยหรือหลายใย ส่วนแอกซอนมีเพียงใยเดียวเท่านั้น    
ที่มา: http://www.myfirstbrain.com/thaidata/image.asp?ID=390125
          กรณีใยประสาทยาวซึ่งมักเป็นใยประสาทของแอกซอนจะมี เยื่อไมอีลิน (myelin sheath) มาหุ้มใยประสาท 
          เยื่อไมอีลินมีสารจำพวกลิพิดเป็นองค์ประกอบเมื่อตรวจดูภาพตัดขวางของเยื่อไมอีลินด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่าเยื่อไมอีลินติดต่อกับ เซลล์ชวันน์  (schwann cell)  ซึ่งเป็นเซลล์ค้ำจุนชนิดหนึ่งแสดงว่าเยื่อไมอีลินเป็นส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มของเซลล์ชวันน์  
          ส่วนของแอกซอนตรงบริเวณร่อยต่อระหว่างเซลล์ชวันน์แต่ละเซลล์เป็นบริเวณที่ไม่มี เยื่อไมอีลินหุ้มเรียกว่า โนดออฟแรนเวียร์  (node of Ranvier)
ที่มา: http://www.bem.fi/book/02/fi/0201.gif


วิดีทัศน์ "Anatomy of a Neuron"



ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/46/2/nerve/content/nerve_cell.html

แบบทดสอบ เรื่อง ระบบประสาท (nervous system)

1. ในภาพด้านล่างนี้ หมายเลข 3 คือ ส่วนประกอบใดของเซลล์ประสาท

 ก. เยื่อไมยีลิน
 ข.  โนดออฟแรนเวียร์
 ค. แอกซอน
 ง. เดนไดรต์






2. ระบบประสาทอัตโนวัติควบคุมการทำงานของสิ่งใด
     1. กล้ามเนื้อลาย
     2. กล้ามเนื้อเรียบ
     3. กล้ามเนื้อหัวใจ
     4. ต่อมต่าง ๆ ในร่างกาย
ก. ข้อ 1, 3, 4
ข. ข้อ 2, 3, 4
ค. ข้อ 1, 2, 3
ง. ข้อ 1, 2, 3, 4

3. สมองส่วนหน้าประกอบด้วยสมองส่วนใดบ้าง
ก. ซีรีบรัม , ซีรีเบลลัม , ไฮโพทาลามัส
ข. ซีรีบรัม , ซีรีเบลลัม , พอนส์
ค. ซีรีบรัม , ทาลามัส , ซีรีเบลลัม
ง. ซีรีบรัม , ทาลามัส , ไฮโพทาลามัส

4. เมื่อเราเหยียบเศษแก้ว เราจะสะดุ้งและกระตุกขาออกทันที ปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า
ก. Taxis
ข. Kinesis
ค. Reflex
ง. Voruntary action

5. นักเรียนทำข้อสอบชีววิทยาครั้งนี้ไม่ค่อยได้ และไม่มีความมั่นใจว่าจะสอบผ่าน นักเรียนจึงรู้สึกซึมเศร้าไม่สบายใจ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพราะสมองส่วนใดถูกกระตุ้น
ก. ไฮโพทาลามัส
ข. เซรีเบลลัม
ค. เซรีบรัม
ง. เมดูลาออบลองกาตา



เฉลย
1. ข.
2. ข.
3. ง.
4. ค.
5. ก.